5 Social Commerce ยอดนิยมในกลุ่มนักช้อป ที่แบรนด์ไม่ควรมองข้าม

ในบทความก่อนหน้านี้ เราได้นำเสนอเกี่ยวกับเทรนด์ที่กำลังเขย่าวงการค้าปลีกไทยในปีนี้ นั่นคือ Social Commerce หรือ Conversational Commerce (C-Commerce) พร้อมสถิติที่น่าสนใจเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภคของคนไทย ในวันนี้ เราจะมาดูกันว่า ช่องทางโซเชียลมีเดียไหนที่เป็นที่นิยมในการซื้อขายผ่านรูปแบบ C-Commerce ของคนไทยบ้าง??

5 ช่องทาง ที่เป็นที่นิยมในในกลุ่มนักชอป และพ่อค้าแม่ค้าคนไทยไม่ควรพลาด มีดังนี้

1) LINE 

LINE ถือว่าเป็นช่องทางในการยอดนิยมในการทำ Social Commerce ของคนไทย เนื่องจากเป็นแอปพลิเคชันที่คนไทยใช้เวลาเยอะที่สุดต่อวันโดยเฉลี่ย 63 นาที นอกจากนี้ LINE พัฒนาระบบ LINE Official Account และ LINE MyShop ขึ้นมาเพื่อให้การซื้อขายบนออนไลน์สะดวก รวดเร็วมากขึ้น ตั้งแต่การสั่งสินค้า การชำระเงิน ไปจนถึงขั้นตอนการจัดส่ง และ LINE ยังกระตุ้นให้เกิดการพูดคุย แลกเปลี่ยนข้อมูลสินค้าระหว่างลูกค้าและร้านค้า ช่วยให้ปิดการขายได้อย่างรวดเร็ว 

2) Facebook

อีกหนึ่งโซเชียลมีเดียที่เป็นที่นิยมอันดับต้นๆของคนไทย คือ Facebook ซึ่งเป็นช่องทางหลักในการขายสินค้าของหลายๆแบรนด์ เพราะสามารถเปิดเพจของร้านค้า โพสต์ข้อมูลหรือรูปสินค้าลงในเพจ ซึ่งลูกค้าสามารถกดไลค์ กดแชร์ หรือคอมเมนต์ในโพสต์นั้นๆได้ หรือลูกค้าสามารถทักแชทเข้ามาสอบถามรายละเอียดสินค้าได้ นอกจากนี้ Facebook ยังมีฟีเจอร์การ LIVE ซึ่งหลายๆธุรกิจหันมาขายสินค้าหรือบริการผ่านการ LIVE Facebook เพราะลูกค้าสามารถพูดคุยหรือสอบถามข้อมูลกับผู้ขายได้ทันทีขณะที่ทำการ LIVE แต่ปัจจุบัน Facebook มีการออกกฎระเบียบที่เพิ่มขึ้นมา ทำให้การโฆษณา หรือการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านช่องทางนี้ มีข้อจำกัดมากขึ้น

3) Instagram

Instagram จากเดิมเป็นพื้นที่ที่ใช้แชร์รูปภาพ หรือภาพถ่ายต่างๆที่เราชอบ หรือสนใจ แต่ปัจจุบัน แพลตฟอร์มนี้ได้ถูกพัฒนาให้เป็นช่องทางการซื้อขายสินค้า หรือบริการที่ตอบโจทย์เทรนด์ธุรกิจ C-Commerce มากขึ้น เช่น ฟีเจอร์ IG Shopping ที่สามารถติดแท็กรายละเอียดสินค้าไว้ที่รูปภาพ เพื่อให้ลูกค้าดูรายละเอียดสินค้า และกดสั่งซื้อได้เลยทันที หรือลูกค้าสามารถทักแชทร้านค้า เข้ามาสอบถามรายละเอียดสินค้าได้ผ่าน direct message  ถือว่าเป็นการเพิ่มความสะดวกในการซื้อขายสินค้าและบริการให้ทางร้านค้า และตัวลูกค้าเองอีกด้วย ซึ่งทั้งหมดยังคงหัวใจสำคัญของ Instagram คือ คอนเทนต์ในรูปแบบรูปภาพ

4) Twitter

Twitter ในตอนแรกเป็นเพียงแค่พื้นที่แชร์ข่าวสาร มีการคอมเมนต์ และตอบกลับสั้นๆ ระหว่างผู้ใช้งาน แต่ในปัจจุบันกลายมาเป็นช่องทางในการซื้อขายสินค้า และบริการอีกช่องทางที่ได้รับความนิยมไม่แพ้ช่องทางอื่นๆ ซึ่ง ปัจจุบัน Twitter กลายเป็นเหมือน Marketplace ที่ลูกค้าสามารถเข้ามาถามหาสินค้าได้ ถามหารีวิวได้ด้วยการ tweet ข้อความ  หรือการใช้ Hashtag เช่น #ตามหาxxx หรือ #รีวิวxxx เป็นต้น หลังจากนั้นจะมีคนเข้ามา Reply บอกพิกัด แนะนำร้าน หรือรีวิวสินค้านั้นๆ ทำให้ดูไม่เป็นการขายโดยตรง หรือ hard sale เท่าช่องทางอื่นๆ ทำให้โซเชียลมีเดียอย่าง Twitter เกิดการซื้อขายแบบ C-Commerce และได้รับความนิยมมากขึ้นตามลำดับ

5) Youtube

จุดเริ่มต้นของ Youtube คือ การแชร์คอนเทนต์ในรูปแบบวิดีโอ ที่ถูกพัฒนากลายมาเป็นแหล่งรวม Youtuber ที่นำเสนอคอนเทนต์ที่ตนเองสนใจ ทำให้หลายๆธุรกิจเลือก Youtube เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการทำธุรกิจ โดยใช้คลิปวิดีโอเป็นสื่อกลางในการขายสินค้าหรือบริการ ให้ลูกค้าเข้าคอมเมนต์ แชร์ข้อมูลของสินค้าได้ นำไปสู่การพูดคุย และปิดการขาย หรือบางธุรกิจส่งสินค้าให้เหล่า Youtuber ที่มีคนติดตามจำนวนมาก เป็นตัวแทนในการแชร์ข้อมูลสินค้า หรือที่เราเรียกว่า การรีวิวสินค้า ซึ่งเป็นโซเชียลมีเดียที่ได้รับความนิยม และได้ผลดีมากๆอีกช่องทางหนึ่งในการทำ C-Commerce

ตัวอย่างธุรกิจที่มีการปรับตัวเข้ากับเทรนด์ C-Commerce

แบรนด์เสื้อผ้าอย่าง Pomelo มีการปรับตัวให้เข้ากับเทรนด์ C-Commerce อย่างน่าสนใจ โดยนำเสนอช่องทางการซื้อขายอย่างหลายให้กับลูกค้าทั้งทางออนไลน์ และออฟไลน์

นอกจากลูกค้าสามารถซื้อสินค้าผ่านหน้าร้านค้าของทาง Pomelo ได้แล้วยังสามารถสั่งซื้อสินค้าผ่านหน้าเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่นของทาง Pomelo ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งทาง Pomelo เองเพิ่มประสบการณ์การการซื้อสินค้าให้ลูกค้าด้วยบริการจองสินค้า แล้วลูกค้าสามารถมาลองสินค้าจริงที่ร้านได้ ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ ซึ่งวันที่ไปลองสินค้าลูกค้าสามารถจองห้องลองสินค้าก่อนได้ และจะมีการแจ้งเตือนว่ามีคิวก่อนหน้าอีกกี่คิว เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้าไม่ต้องเสียเวลามานั่งรอ 

นอกจากนี้ ทาง Pomelo ยังมีช่องทางโซเชียลมีเดียอีกหลายช่องทางที่ลูกค้าสามารถเข้ามาดูสินค้า หรือสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับแบรนด์ หรือสินค้าได้ เช่น  Pomelo Chat & Shop บนแพลตฟอร์ม LINE Official Account ของ Pomelo ที่ให้ลูกค้าสนุกกับการซื้อสินค้า พร้อมรับคำแนะนำจากทางแบรนด์ ทำให้ลูกค้ารู้สึกเหมือนมี stylist ส่วนตัว หลังจากนั้นสามารถสั่งซื้อ และชำระเงินได้เลยทันที นอกจากนี้ Pomelo ยังมี facebook page ที่ลูกค้าสามารถเข้ามาดูรายละเอียดสินค้า หรือทักแชทเข้ามาสอบถามข้อมูลได้ด้วยเช่นกัน

แบรนด์ Pomelo ถือว่ามีการปรับตัวเข้าสู่เทรนด์ C-Commerce ได้อย่างน่าสนใจ และปรับธุรกิจให้เข้ากับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสในการขายได้มากทีเดียว

หัวใจสำคัญของการทำธุรกิจในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงทุกวันนี้คือ ความเข้าใจ และพร้อมที่จะ “ปรับตัว” ในทุกสถานการณ์ แล้วคุณล่ะ? พร้อมที่จะปรับตัว และรับมือกับเทรนด์ C-Commerce นี้หรือยัง? 


หากใครที่ยังไม่รู้จะเริ่มต้นธุรกิจอย่างไร UNICORN HOUSE เราพร้อมให้คำปรึกษาปัญหาธุรกิจ เพราะเราคือ ผู้นำการสร้างแบรนด์แบบมืออาชีพผลักดันไปสู่ตลาดยุคดิจิทัล

จัดการธุรกิจคุณให้เติบโตในยุคออนไลน์ ติดต่อเรา !

➤ LINE : @unicornhouse (อย่าลืมใส่ @ ข้างหน้า)

➤ หรือคลิกลิงค์นี้ >> https://bit.ly/3gPuL71

➤ Tel : 02-077-0323

https://unicornhouse.me/